งานคนเจ็ดเสมียนพบกัน ครั้งที่ ๒ / ๒
เรื่องราวของชาวเจ็ดเสมียน
งานวันคนเจ็ดเสมียนพบกัน ครั้งที่ ๒ ต่อ
พวกผมเดินมาถึงศาลาประชาคม ที่ริมแม่น้ำแม่กลอง เกือบ ๖ โมงเย็น มองเห็นคนเดินกันอยู่ยังไม่มากนัก คนแรกที่ผมได้พบนั้นก็คือ คุณมยุรี (เตียง)และนาย อ๋วย น้องชายของคุณ เตียง ยืนกันอยู่ที่หน้าป้าย บอร์ดที่สำหรับติดรูป ซึ่งกำลังมีคนติดรูปอยู่ (มารู้ภายหลังว่าแฟนคุณครู อาภรณ์ นั่นเองที่กำลังเป็นคนติดรูปอยู่ ) ทักทายกันได้สักประเดี๋ยว คุณมยุรีก็ยังพูดคุย เก่งเหมือนเดิม แต่ผมมีความรู้สึกว่า นายอ๋วย เป็นคนไม่ค่อยพูดเลย ผิดกับเมื่อตอนเป็นเด็กๆ อยู่ที่ตลาดเจ็ดเสมียนนี้ เมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนของเขา ก็เห็นว่าพูดเก่งพอสมควร หรือว่า ได้พบเพื่อนและคนรู้จักกัน ตื้นตันใจจนพูดไม่ออกเลยนะ
งานคนเจ็ดเสมียนพบกัน ครั้งที่ ๒ / ๑
ต้นโพธ์ใหญ่หน้าศาลาเอนกประสงค์ที่เราจะไปพบกันที่ศาลาแห่งนี้
หลังจากที่ได้กำหนดวันจัดงาน “งานวันคนเจ็ดเสมียนพบกัน ครั้งที่ ๒” และได้ข้อสรุป เห็นพ้องต้องกันแล้วว่า ควรจัดในวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๒ แล้วนั้น
ประกาศงานคนเจ็ดเสมียนครั้งที่ 2
ประกาศกำหนดงานคนเจ็ดเสมียนพบกัน ครั้งที่ 2
กำหนดและขอเชิญชวน พวกเราชาวคนเจ็ดเสมียนทุกรุ่น มาพบกัน เป็นครั้งที่ 2 ที่ลานโพธิ์ ริมแม่น้ำ ตลาดเจ็ดเสมียน ให้พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ และคนเก่าแก่ของชาวเจ็ดเสมียน ทราบทั่วกัน
ด้วยในวันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน 2552 ที่จะถึงนี้ คุณรังสฤษดิ์ ลักษิตานนท์ ผู้ที่เป็นผู้จัดให้คนเจ็ดเสมียนพบกัน ครั้งที่ 1 เมื่อ วันที่ 7 เม.ย. 2550 นั้น ได้ปรารภกับ คุณอาภรณ์ ลักษิตานนท์ ผู้เป็นน้องสาว รวมทั้งญาติพี่น้องและเพื่อนๆว่า อยากจะจัดให้คนเจ็ดเสมียนพบกัน อีกสักครั้งหนึ่ง ในวันอาทิตย์ ที่ 5 เม.ย. 2552 นี้ เวลาประมาณ 6 โมงเย็น ที่ศาลาประขาคม ริมแม่น้ำแม่กลอง (ใกล้ที่เดิมเมื่อครั้งที่แล้ว )
งานคนเจ็ดเสมียนพบกันครั้งแรก ๒๕๕๐
งานคนเจ็ดเสมียนพบกันนี้ คุณรังสฤษดิ์ ลักษิตานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท บุญรอดเทรดดิ้งจำกัด น้องชายของคุณโอฬาร ลักษิตานนท์ เพื่อนของผมเองที่เคยอยู่เจ็ดเสมียนด้วยกันตั้งแต่เด็กๆ เป็นหัวเรือใหญ่คิดจัดงานนี้ขึ้นมา
ติดต่อผู้จัดทำและผู้เขียน

แนะนำตำบลและตลาดเจ็ดเสมียน (ปรับปรุงใหม่)
ขอต้อนรับเข้าสู่ตำบลเจ็ดเสมียน และตำนานของตลาดเจ็ดเสมียน (ภาพครูปราณี สุวรรณมัจฉา ยืนอยู่ที่ป้ายสถานีรถไฟเจ็ดเสมียน เมื่อ ๕๘ ปีมาแล้ว)
ชื่อนี้ใครได้ยินได้ฟังแล้วก็ดูออกจะแปลกๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งของทั้งหลายแหล่มันก็ต้องมีที่มาและที่ไป ชื่อของตำบล "เจ็ดเสมียนนี้ "ก็เหมือนกัน แน่นอนละมันก็ต้องมีที่มาของมัน
คำนำของผู้จัดทำ
นายหิรัญ สุวรรณมัจฉา บิดาของผู้เขียนครูใหญ่โรงเรียน "วัดเจ็ดเสมียน สัจจานุกูล"
ก่อนอื่นขอบอกว่าผู้เขียนไม่ได้มีอาชีพเป็นนักเขียน ที่ผู้เขียนได้เขียนเรื่องต่างๆขึ้นมา ซึ่งท่านจะได้อ่านต่อๆไปนั้น เป็นแรงบันดาลใจเกิดจากบิดาของผู้เขียนคือ นายหิรัญ สุวรรณมัจฉา