เขาคือเด็กเจ็ดเสมียน

วกเขาคือเค็กเจ็ดเสมียน ริมฝั่งลำน้ำแม่กลอง 

    าพนี้ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ แต่พวกเขาเหล่านี้ก็ยังมีความภูมิใจว่า เขาคือคนเจ็ดเสมียนดินแดนแห่งความทรงจำที่แท้จริงของพวกเขา

     ในตอนสายๆของเมื่อ ๖๐ ปีที่ผ่านมา พวกเด็กเจ็ดเสมียนส่วนหนึ่ง ออกมาวิ่งเล่นกันที่ริมน้ำข้างๆศาลาวัดเจ็ดเสมียน (หลังเก่า) ซึ่งติดกับโบสถ์ เล่นกันเพลินๆครูหิรัญซึ่งเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนวัดเจ็ดเสมียน เดินผ่านมาทางนั้น พร้อมด้วยถือกล้องถ่ายรูปมาด้วยพอดี แล้วร้องเรียกเด็กพวกนั้นให้มาถ่ายรูปกัน พวกเขาจึงมานั่งรวมกลุ่มกันที่คันกั้นน้ำริมตลิ่ง ใกล้ๆศาลาวัดนั่นเอง

     เมื่อครูหิรัญเล็งกล้องจะถ่ายแล้วได้พูดให้เด็กๆอยู่นิ่งๆ แล้วก็พูดอะไรออกมาอีก ทำให้เด็กๆพวกนั้นขำกันใหญ่ ครูหิรัญจึงได้ถ่ายรูปนี้ไว้ ตั้งแต่นั้นมารูปใบนี้ก็เก็บอยู่ที่บ้านครูหิรัญ ในตลาดเจ็ดเสมียนตลอดมา และเพิ่งจะมาเปิดเผยให้คนอื่นๆได้ดูกันก็เมื่อไม่นานมานี้เอง

      สิบเอก สัมพันธ์ (ระฆัง) สุวรรณมัจฉา ระหว่างเข้าเวรยามหน้ากระท่อมที่พัก เมื่อคราวมาปราบปราม ผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ ณ ฐานช้างดำ ต.บ้านส้อง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ถ่ายเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๐

(ในปีระหว่างที่ สิบเอกสัมพันธ์ สุวรรณมัจฉาไปราชการที่ เวียงสระนั้นเป็นปีที่มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ มากที่สุดในพื้นที่หนึ่งของประเทศไทย ซึ่งในปีนั้นเป็นปีที่  หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเยี่ยม ทหาร ตำรวจ พลเรือน  ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ได้ถูกผู้ก่อการร้ายลอบยิงถึงสิ้นชีพิตักษัย ขณะประทับอยู่บนเฮลิคอปเตอร์ระหว่างเสด็จไปทรงรับตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งได้รับบาดเจ็บจากกับระเบิดของผู้ก่อการร้าย ที่ ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี )

 

  ภาพข้างบนนั้นมีใครบ้างขอบอกดังนี้ จากซ้าย เด็กชายระฆัง สุวรรณมัจฉา (จ่าบี้) นั่งหัวเราะใส่เสื้อยืดขาว เป็นบุตรชายคนที่ ๒ ของครูหิรัญ ขณะที่ถ่ายภาพนี้อายุได้ประมาณ ๔ ขวบ เมื่อเติบโตขึ้นมาก็เรียนหนังสือจนจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และสอบเข้ารับราชการทหารอยู่ในค่ายทหารช่างที่ราชบุรี

    ระฆังมีอายุค่อนข้างสั้น และต่อมาได้เสียชีวิตลงเมื่ออายุได้เพียง ๔๒ ปีเท่านั้นเอง ระฆังอยู่ที่เจ็ดเสมียนตลอดมาไม่ได้ย้ายออกไปจากเจ็ดเสมียนเลย จึงเป็นคนเจ็ดเสมียนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งสิ้นอายุขัย

    คนถัดไปที่ถอดเสื้อนั่งสูงกว่าคนอื่นๆนั้นคือ เด็กชายแก้ว สุวรรณมัจฉา (เก้ว) เป็นพี่ชายของเด็กชายระฆัง เด็กชายแก้วนั้นในตอนเด็กๆเป็นคนขี้โรค โดยเฉพาะโรคน้ำเหลืองเสีย เป็นแผลนิดหน่อยก็หายยาก ผอมแห้งแรงน้อยใจเสาะ ไม่ต้องโดนเพื่อนต่อยหน้าหรอก เพียงแต่โดนเพื่อนว่า ไอ้โง่ คำเดียวก็ร้องไห้ลั่นแล้ว

 

  ด็กเจ็ดเสมียนใจเสาะหลายคน จำเป็นต้องเข้าค่ายฝึกร่างกายให้แข็งแกร่งขึ้น เพื่อจะฟันฝ่าอุปสรรคต่อไปในวันข้างหน้า (คุณสาธร วงษ์วานิช เอื้อเฟื้อภาพ)

     มื่อเด็กชายแก้วเข้าโรงเรียนชั้นมัธยมแล้ว ได้ทำจิตใจใหม่ จึงได้ออกกำลังฟิตร่างกาย โดยเข้าเล่นกล้ามเพาะกาย หัดชกมวยพร้อมกับเพื่อนๆอีกหลายคน กับเฮียตี๋ (พตท.จตุรงค์ วงศ์ยะรา ต่อมาเป็นสารวัตรตำรวจทางหลวง ) ที่บ้านกำนัน จิตใจและร่างกายจึงได้แข็งแกร่งขึ้น  

    เป็นเด็กอยู่ในตลาดเจ็ดเสมียนจนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยม ที่โรงเรียนในตัวอำเภอโพธาราม จึงได้จากเจ็ดเสมียนไปเรียนต่อที่กรุงเทพ และได้เผชิญโชคอยู่ในเมืองหลวงตลอดมา ไม่ได้กลับมาปักหลักอยู่ที่เจ็ดเสมียนเลย (แต่ก็ยังมาเยี่ยมญาติและพี่น้องเพื่อนฝูงที่เจ็ดเสมียนสม่ำเสมอ)

   คนที่นั่งยิ้มข้างหน้าใส่กางเกงมีสายสะพายนั้น เขาคือ เด็กชายรังสฤษฏ์ ลักษิตานนท์ (สิทธิ์) เป็นบุตรชายของนายเบี้ยวและนางกิมเอ็ง เรียนจนจบปริญญาตรีที่ประเทศไทยแล้ว ก็ไปเรียนต่อปริญญาโท ที่รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

   มื่อสำเร็จกลับมาแล้วได้เข้าทำงานหลายแห่ง สุดท้ายปัจจุบันนี้ทำงานอยู่ที่ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ในตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ

    นั่งหลังสุดคนที่ถอดเสื้อยิ้มเหนียมๆนั้น คือ เด็กชายสาธร วงษ์วานิช (ทอน) เป็นเด็กที่เกิดที่เจ็ดเสมียนโดยแท้จริงเหมือนหลายคนที่ได้เอ่ยมาแล้ว ตอนเด็กๆก็วิ่งเล่นด้วยกันกับเด็กตลาดเจ็ดเสมียน แล้วเข้าค่ายฝึกซ้อมให้ร่างกายแข็งแกร่งเช่นดียวกัน 

   เรียนหนังสือเบื้องต้นและจบชั้นมัธยมที่ในตัวอำเภอโพธาราม ต่อมาได้เข้าเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ และรับราชการจนกระทั่งเป็นเรือโท จึงได้ลาออกจากราชการ

   ปัจจุบันประกอบอาชีพส่วนตัว สร้างหลักปักฐานอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ก็กลับมาเยี่ยมพ่อแม่พี่น้อง ที่เจ็ดเสมียนอยู่เนืองๆจนปัจจุบันนี้

ุณสาธรในปัจจุบันนี้ patipat  ถ่ายภาพ

   นที่นั่งหัวร่องอหายอยู่นั้น เป็นเด็กหญิงคนเดียวในภาพนี้ เธอคือ เด็กหญิงอารีย์ สุวรรณมัจฉา (ยายอึ่ง)ในตอนที่ถ่ายภาพนี้มีอายุประมาณ ๒ ขวบ

    เป็นน้องสาวของเด็กชายระฆัง เมื่อเด็กหญิงอารีย์เรียนจบจากโรงเรียน โพธาราม โพธาวัฒนาเสนีแล้ว ก็เข้ากรุงเทพฯเรียนต่อที่วิทยาลัยพานิชยการพระนคร กรุงเทพฯ จนกระทั่งจบแล้วก็เข้าเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จแล้วเข้ารับราชการตลอดมา   (รื่องราวของคุณอารีย์โดยละเอียด โปรดคลิ๊ก)

 คุณอารีย์ สุวรรณมัจฉา รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

   ่งอยู่ข้างหลังเด็กหญิงอารีย์ คนทางซ้ายมือ เขาคือ เด็กชายประมูล กุลบุปผา(มูน) เป็นบุตรชายของคุณป้าแจ่ม แม่ค้าขายขนมจีนชื่อดังแห่งตลาดเจ็ดเสมียน เด็กชายประมูลเป็นอีกคนหนึ่งที่เรียนจบแล้ว ก็ไปเรียนต่อที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือ ที่สัตหีบ

    รับราชการเรื่อยมา สุดท้ายได้รับยศเป็นนายนาวาโท (พันโท) และได้ทราบข่าวว่า นาวาโทประมูลได้เสียชีวิตไปแล้ว เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ นี้เอง

    คนสุดท้ายอีกคนหนึ่งที่นั่งคู่กับ เด็กชายประมูลนั้น มีใครจำเขาได้บ้างไหมครับเขาคือ เด็กชายโอฬาร ลักษิตานนท์ (อู๊ด)ยังไงล่ะครับ เขาเป็นพี่ชายของเด็กชายรังสฤษดิ์ เมื่อตอนสมัยเด็กๆนั้นเด็กชายอู๊ด (โอฬาร) เป็นเด็กแข็งแรง ฉลาด มีลักษณะการเป็นผู้นำ

    เื่อเรียนจบชั้นมัธยมที่โรงเรียนที่โพธารามแล้ว เด็กชายอู๊ดก็ไม่ได้เรียนต่อ เพราะว่าบิดาให้อยู่ช่วยเหลือกิจการของครอบครัว ถึงแม้ว่าบ้านจะย้ายไปอยู่ที่ตลาดโพธารามแล้ว แต่เด็กชายอู๊ดก็ยังได้เข้ามาเที่ยวหาเพื่อนฝูงที่เจ็ดเสมียนอยู่เสมอ

    นี่คือเด็กตลาดเจ็ดเสมียนส่วนหนึ่ง ที่แม้จะไม่ได้อยู่ที่เจ็ดเสมียนแล้วทุกคนก็ยังระลึกนึกถึงเจ็ดเสมียนอยู่เสมออย่างไม่เสื่อมคลาย ..และก็ยังแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมบ้านเกิดที่เจ็ดเสมียนเสมอ จนกระทั่งทุกวันนี้

    ขอขอบคุณครู ปราณี สุวรรณมัจฉา ที่ได้ให้รูปนี้มาเผยแพร่ (รูปข้างบน)  ภาพเหล่านี้ดูแล้วทำให้เด็กเจ็ดเสมียนทั้งหลายย้อนคิดถึงอดีตเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ซึ่งไม่อาจหวนกลับคืนมาได้  ดังบทกลอนของคุณ อ.ปลาทอง ดังนี้
 

      
    

  ๔ พี่น้องเด็กเจ็ดเสมียนริมฝั่งแม่กลอง ถ่ายภาพ   โดยครูหิรัญ สุวรรณมัจฉา

      อยากหมุนกาลเวลาให้ย้อนกลับ

      องภาพเก่าครั้งยังเยาว์เราแสนสุข
ไม่มีทุกข์สนุกกันวันยันค่ำ
หลังเลิกเรียนมารวมกลุ่มเป็นประจำ
ที่ริมน้ำหรือสนามหน้าโรงเรียน

ไม่ต้องมีภาระรับผิดชอบ
ยังเป็นเด็กเรื่องรายรอบเราไม่สน
เด็กเจ็ดเหมียนมีความสุขกันทุกคน
กว่าจะพ้นเป็นผู้เยาว์อีกหลายปี

ื่อเติบใหญ่แต่ละคนล้วนแตกต่าง
ไปสู่ทางลิขิตมาตามวิถี
มีทั้งทุกข์สุขสมทับทวี
คละเคล้ากันเช่นนี้เป็นทุกคน

อยากหมุนกาลเวลาให้ย้อนกลับ
ขออดีตที่เลยลับกลับมาใหม่
เหมือนเมื่อครั้งยังสุขและเยาว์วัย
ไม่มีทางเป็นได้ตามต้องการ

มองภาพเก่าอีกครั้งยังคิดถึง
ในวันซึ่งเป็นเด็กสนุกสนาน
ในที่หนึ่งซึ่งรักและเนิ่นนาน
ณ ที่นั้นคือบ้านเจ็ดเสมียนเอย.

       ตามประสาเด็กเจ็ดๆที่เจ็ดเสมียน

ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่รังแกกัน ไม่อิจฉาริษยากัน เล่นกันเป็นกลุ่มอย่างมีความสุข นี่คือเด็กเจ็ดเสมียนตั้งแต่ในอดีต 

  เติบโตเป็นผู้ใหญ่กันขึ้นมาก็ยังคบหาสมาคมกัน เหมือนในอดีตตอนที่เป็นเด็กๆนั้น

 

 บทกลอนโดย อ.ปลาทอง อดีตเด็กห้องแถวห้องที่ ๘ ในตลาดเจ็ดเสมียน
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

 

นายขำ สมถะ  นำมาเสนอต่อท่านผู้ที่ได้ติดตามเรื่องราวเก่าๆของเจ็ดเสมียนเสมอมา.

บทความล่าสุด

จำนวนผู้เยี่ยมชม

วันนี้170
เมื่อวานนี้736
สัปดาห์นี้906
เดือนนี้10153
ทั้งหมด1340037

ผู้เยี่ยมชมในขณะนี้

2
Online