ตลาดเจ็ดเสมียนในความทรงจำ

  หอนาฬิกาหน้าวัดและโรงเรียนที่ จ็ดเสมียนในปัจจุบัน (อ.ปลาทอง ถ่ายภาพ)

   ในครั้งแรกที่ได้เปิด www.chetsamian.pimnetshop.com นั้น ได้มีบุคคลทั่วไป เขียนเรื่องราวเก่าๆ ของตลาดเจ็ดเสมียน ซึ่งอยู่ในความทรงจำของพวกเขา แต่ต่างยุคต่างสมัยกัน มาลงในเวบนั้น ซึ่งมีผู้ที่สนใจ ที่ติดตามได้อ่านมาแล้ว กว่า ๕๐๐ ครั้ง ในเวลาต่อมาเวบนี้ ได้ปิดลง

     ต่ด้วยความเสียดายข้อความต่างๆเหล่านั้น จะถูกลบไปกับเวบที่ปิดด้วย จึงได้คัดลอกนำมาลงในเวบใหม่นี้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้เก็บรักษาไม่ให้ศูนย์หายไปสำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่านลองอ่านดูนะครับ ตลาดเจ็ดเสมียนในความทรงจำของเขาเป็นอย่างไร

รุ่งทิวา จินเรียง
ตลาดในความทรงจำ
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2008, 12:59:31 PM »
_
_______________________________________
  

  ตลาดเจ็ดเสมียนในปัจจุบัน ยังเหมือนเดิมเมื่อในอดีต (ปฏิพัทธ์ ถ่ายภาพ)

   ตลาดแห่งนี้มีความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ยังคงรักษาสถานภาพไว้ค่อนข้างเหมือนเดิม เท่าที่จำได้มาเรียนที่กรุงเทพและทำงานแล้วก็กว่า 30 ปี พอดีแวะไปบ้านเจ็ดเสมียน ได้ไปเที่ยวตลาดนัด มีการเปิดตลาดมีการแสดง และจัดนิทรรศการ ภาพบรรยากาศเก่าๆ ทำให้ตัวเองคิดถึงบ้านมากกว่าเดิม แล้วก็อยากรู้ด้วยว่าใครเป็นคนริเริ่มในเรื่องตลาด ๑๑๙ ปีนี้

ที่ลานโพธิ์ริมน้ำ มีการแสดงทุกศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ปลายเดือน และหนึ่งในผู้ที่ริเริ่มในเรื่องตลาด ๑๑๙ ปี ก็คือท่านผู้ที่กำลังร้องเพลงไทยเดิม (คุณพูลสุทัศน์ เมฆสุวรรณ) นั่นแหละจ้า..

ตาแก่เล็ก ร้านกาแฟเล็กๆและขายของเบ็ดเตล็ดในตลาดเจ็ดเสมียน

คุณแก่เล็ก (พิศิษฐ์ ชื่นณรงค์) ภาพในปัจจุบัน (ปฏิพัทธ์ ถ่ายภาพ)

  นึกถึงร้านตาแก่เล็ก ร้านกาแฟเล็กๆ และของเบ็ดเตล็ดไม่มากนัก แต่ก็ทำให้วิถีชีวิตของคนจนๆอยู่ได้ทุกวันเพราะให้ติด (เชื่อ)ได้ และหลวงพ่อก็เป็นลูกค้าประจำด้วย และร้านริมน้ำที่มีคนแก่ชอบเอาหมากพลูใส่เรือมาขาย ยังมีอีกหลายร้านที่จะพูดถึงไว้โอกาสหน้านะค่ะ ขอบคุณ อาแก้วมากค่ะ

ขียนโดย ลูกหลวงตาซ้อน รุ่งทิวา จินเรียง / ภาพประกอบนั้นผู้จัดทำนำมาลงเอง

 


ลอยนภัส จันทร
ตลาดในความทรงจำ
« เมื่อ: มกราคม 07, 2009, 12:27:00 AM »
________________________________________
    ตลาดเจ็ดเสมียนเมื่อ 30 กว่าปีก่อน จะมีตลาดนัดเฉพาะวันพระช่วงเช้าเท่านั้น จึงเป็นที่รอคอยของชาวเจ็ดเสมียน เนื่องจากเจ็ดเสมียนห่างจากตัวอำเภอโพธาราม ถึง 7 กม. และห่างจากราชบุรี 11 กม. ทางสัญจรนอกจากรถไฟแล้วก็มีรถสองแถวสีแดงเพียงไม่กี่คัน วิ่งจากวัดตึกหิรัญราษฎร์ ผ่านวัดสนามชัย วัดเจ็ดเสมียนแล้วเลี้ยวออกไปทางหัวหนอง(หนองบางงู)ไม่ผ่านวัดใหม่ชำนาญ

 สพานข้ามแม่น้ำแม่กลองที่เจ็ดเสมียนในปัจจุบัน  ( ปฏิพัทธ์ ถ่ายภาพ)

   และในตอนนั้นยังไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำเหมือนปัจจุบันนี้ รถเมล์ก็หายากถ้าจะไปราชบุรีต้องมาขึ้นรถเมล์ที่หัวหนองหรือที่โค้งพงสวายเท่านั้น ดังนั้นเมื่อมีตลาดนัดจึงมีคนมาเที่ยวซื้อขายกันมากมาย คนฝั่งธรรมเสนและบางโตนดจะมีเรือข้ามฟาก ตรงหน้าร้านป้าฮุ้น (บ้านริมน้ำ) ที่ปัจจุบันท่าเรือนั้นกลายเป็นลานเพลิน

 บ้านป้าฮุ้นริมน้ำในปัจจุบัน  (ปฏิพัทธ์ ถ่ายภาพ )

  ส่วนร้านป้าฮุ้นก็เปลี่ยนจากขายข้าวสาร เครื่องใช้ในครัวเรือนและอุปกรณ์การเกษตร เป็นร้านขายอุปกรณ์ตกปลาไปแล้ว (ทำโดยเด็กรุ่นลูกหลาน) ถัดมาสัก2-3ห้องเป็นร้านขายกาแฟ สืบต่อจากบรรพบุรุษ เถ้าแก่เล็กรู้สึกว่าเคยเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่3 ของตำบลเจ็ดเสมียนด้วย ภรรยาแกชื่อซ้อ วรรณา (เสียชีวิตไปนานแล้ว)

    ร้านนี้ขายกาแฟ ขนม ของเล่น และการ์ตูนไทยเล่มละบาท ที่ดิฉันยืนอ่านเกือบทุกวัน (ไม่มีเงินซื้อ) ปัจจุบันลูกชายชื่ออาทรเป็นผู้รับช่วงต่อ ถัดมาอีก2 ห้องเป็นร้านไทยเจริญร้านขายของเบ็ดเตล็ดจำได้ว่ามีผ้าถุง ผ้าซิ้น ผ้าขาวม้าขายด้วย

ร้านไทยเจริญเป็นร้านค้าที่เก่าแก่ที่สุดของตลาดเจ็ดเสมียนร้านหนึ่ง   (ปฏิพัทธ ถ่ายภาพ )

   เจ้าของร้านนี้มีกิจการโรงสีข้าว ซึ่งเป็นโรงสีแห่งเดียวในเจ็ดเสมียน ตรงข้ามกันเป็นร้านเถ้าแก่เค่งกับป้าน้อยภรรยาของเถ้าแก่ ร้านนี้เทียบเท่า 7-11 (เซเว่น อีเลฟเว่น) ของเจ็ดเสมียนเลยทีเดียว แต่ดิฉันกับเถ้าแก่ก็เป็นไม้เบื่อไม้เมากันเพราะแกไม่ค่อยสนใจเด็กเวลามาซื้อของจะขายให้ผู้ใหญ่ก่อนดิฉันก็เลือดประชาธิปไตยขึ้นหน้าไม่ยอมแก แกก็เลยไปฟ้องแม่ดิฉันเลยโดยแม่เล่นงานขนานใหญ่

   คุณป้าน้อย (คนที่ ๒ จากซ้าย) เจ้าของโรงงานทำหัวไช้โป๊ว ผู้ใหญ่ที่อยู่ในภาพนี้เสียชีวิตหมดแล้ว (นายจำเนียร คุ้มประวัติ ถ่ายภาพ เมื่อ ๑๑ มีนาคม ๒๕๑๐)

แม่เคยทำงานกับป้าน้อยภรรยาเถ้าแก่ค่ะ ป้าน้อยเอ็นดูแม่เลยทำแหวนพลอยหัวทับทิมให้แม่วงหนึ่ง ทุกวันนี้ดิฉันได้รับตกทอดมา ปัจจุบันทายาทของร้านนี้เป็นเจ้าของ โรงงานหัวไชโป๊วตราชะฎา

   ถัดจากร้านเถ้าแก่เค่ง เป็นร้านป้าเซี้ยมขายของเล่น ดิฉันซื้อลูกโป่งวิทยาศาสตร์มาเป่าเล่นเป็นประจำ แต่ป้าเซี้ยมแกยิ้มยาก (ไม่ค่อยยิ้ม) เด็กๆไม่ค่อยกล้าเข้าใกล้แก ร้านแกเป็นหัวมุมทางเข้าตลาดเจ็ดเสมียน

   ในตลาดนัดมีของขายมากมาย มีขนมเบื้องมอญเจ้าอร่อยมาก แป้งบางกรอบแต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว คนขายกลับบ้านเก่าไปหลายปีแล้ว ขนมไทยร้านป้าหลวยก็มีชื่อตอนนี้ถ้าอยากกินก็ต้องมาวันอาทิตย์ ขายแค่วันเดียวก็ขายมาตั้ง 40 ปีเห็นจะได้ก็ต้องเหนื่อยเป็นธรรมดา

   ร้านป้าแถบขายกับข้าวก็ไม่ขายแล้วเหมือนกัน แกกลับบ้านไปหลายปีแล้ว จะเหลืออยู่ก็ร้านป้าตาขายลูกชิ้น หมูสะเต๊ะยังขายอยู่ค่ะ ดิฉันชอบขนมครก ข้าวหมาก ขนมขุยหนูตาล ตอนนี้คนทำคนเดิมไปบ้านเก่ากันหมดแล้ว มีแต่ลูกหลานมาขายแทนน่าเสียดายผีมือ

    ข้างประตูรั้ววัดด้านซ้ายเราจะพบกับ ครูวาสนานั่งขายผักที่ท่านปลูกเองก่อนไปสอนที่โรงเรียนตอนสายๆเป็นประจำ หน้าตลาดตรงสะพานจะเป็นร้านขายน้ำแข็ง ของแม่ตังกวยแต่เดียวนี้ขายแต่ไชโป๊วอย่างเดียวแล้ว

 ตลาดนัดเจ็ดเสมียนปัจจุบันเนืองแน่นไปด้วยผู้คน (อ.ปลาทอง ถ่ายภาพ)

  ปัจจุบันตลาดนัดเจ็ดเสมียน จะเปิดช่วงบ่ายแก่-เย็นวันเสาร์และอาทิตย์ ส่วนตอนเช้าไม่แน่ใจว่ายังมีอยู่หรือไม่ เพราะดิฉันจะกลับมาเจ็ดเสมียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น ถ้าว่างๆและสนใจตลาดเจ็ดเสมียน ก็ลองแวะมาชมนะคะ ลองดูซิว่าจะหาร้านต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้นเจอหรือไม่ แล้วกลับมาเล่าให้ฟังด้วยนะคะ

 ซุ้มประตูวัดเจ็ดเสมียนและป้ายชื่อโรงเรียนในปัจจุบัน (ปฏิพัทธ์ ถ่ายภาพ)

ระลึกถึงความหลังโดยพลอยนภัส จันทร    www.primpattana.com / ภาพประกอบโดยผู้จัดทำ

 ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ รรณิกา ศิลปวิลาวัลย์ ตลาดในความทรงจำ
« เมื่อ: มกราคม 26, 2009, 11:23:56 AM »
_
_______________________________________

 บ้านของแม่ตังกวยในปัจจุบันอยู่ด้านหลังของตลาด ในอดีตนั้นแม่ตังกวยก็อยู่ที่ห้องแถวในตลาดด้วยเหมือนกัน (ปฏิพัทธ์ ถ่ายภาพ)

  สวัสดีค่ะ เพื่อนๆและพี่ๆทุกคนนะค่ะ

   ในเมื่อยังเด็ก ๆ พอเข้าหน้าร้อนพวกเด็กๆ ชอบไปเล่นน้ำที่แม่น้ำ ที่ท่าใหญ่จะมีต้นจามจุรีต้นใหญ่มากๆ พวกเด็กชอบปีนต้นไต่ขึ้นไปยังกิ่งสูง แล้วก็กระโดดลงน้ำโดยโหนเชือกลงมา

 ท่าใหญ่ในปัจจุบันนี้ไม่กว้างเหมือนเมื่อในอดีต ( ปฏิพัทธ์ ถ่ายภาพ )

  ถ้ามีเรือโยงแล่นมาติดสันทรายกลางแม่น้ำ พวกเด็กๆก็จะพากันว่ายน้ำไปช่วยกันดุน (เข็น) เรือให้พ้นสันทราย จากนั้นก็จะเกาะเชือกเรือโยงโดยที่ไม่คิดว่ามันจะมีอันตรายใดๆ

   พอเล่นเสร็จก็จะขึ้นไปยังฝั่งตรงข้าม ที่มีหาดทรายยาวมากและเด็กๆ ชอบเรียกว่า "ภูเขาทราย" ที่มีต้นหวายขึ้นอยู่มากมายน่าเสียดายนะค่ะที่ทุกวันนี้หาดทรายเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้วได้หายไปกับสายน้ำและกาลเวลา

 ปัจจุบันฝั่งตรงกันข้ามกับตลาด ไม่มีหาดทรายให้เห็นอีกแล้ว (เกียรติศักดิ์ สุวรรณมัจฉา ถ่ายภาพ)

ทำให้เด็กรุ่นหลังไม่รู้ว่าเจ็ดเสมียนของเรานั้น เคยมีหาดทรายที่ขาวสะอาดและเป็นที่น่าพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างมาก ในเวลาเย็นๆ เด็กๆจะมารวมกลุ่มเล่น "โปลิสจับขโมย" หรือบางครั้งก็จะไปร้องรำทำเพลงอยู่ที่หน้าโบสถ์วัดเจ็ดเสมียน

  ป้าแพ คนเก่าตลาดเจ็ดเสมียน  (นายจำเนียร คุ้มประวัติ ถ่ายภาพ)

  โดยมี พี่จรัญ ลูกป้าแพเป็นมือกลองและนักร้องประจำวง ส่วนพวกเราก็เป็นสาวรำวง รุ่นเล็ก (แต่แจ๋วนะจ๊ะ) พอกลางคืนในหน้าร้อน พวกเราเด็กตลาดใน ก็จะย้ายที่นอนออกมานอนที่ชานหน้าบ้านชั้นบน ชมพระจันทร์แล้วก็หลับไป พร้อมกับความสวยงามของธรรมชาติในขณะนั้น ซึ่งทุกวันนี้ไม่สามารถหาบรรยากาศแบบนั้นได้อีกแล้ว

 นอกชานหน้าบ้านชั้นบน ลมพัดเย็นสบายดี (ภาพจากคุณอาทร ชื่นณรงค์)

ระลึกถึงความหลังโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรรณิกา ศิลปวิลาวัลย์ / ปฏิพัทธ์ ถ่ายภาพ ๕ เมย.๕๒

าพประกอบโดยผู้จัดทำ

www.chetsamian.org  ขอสงวนลิขสิทธิ์ข้อมูลและรูปภาพบนเว็บไซต์ทั้งหมด โดยไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ ทำซ้ำ แก้ไข หรือ ดัดแปลง ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด หากท่านใดต้องการข้อมูลบนเว็บไซต์ www.chetsamian.org กรุณาติดต่อ นายแก้ว โดยส่ง email ไปที่  cThis email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. พื่อขออนุญาติเสียก่อน เนื่องจากข้อมูลและรูปภาพบางเรื่องและบางชิ้น เป็นของท่านผู้เขียนและท่านสมาชิกที่ได้เขียนเรื่องต่างๆ และให้ขอยืมภาพต่างๆมาลงไว้ ซึ่งทางผู้จัดทำเว็บไซต์จำเป็นจะต้องขออนุญาตจากทางเจ้าของผลงานก่อนทุกครั้ง จึงเรียนมาเพื่อทราบ.     

บทความล่าสุด

จำนวนผู้เยี่ยมชม

วันนี้606
เมื่อวานนี้485
สัปดาห์นี้2580
เดือนนี้8747
ทั้งหมด1338631

ผู้เยี่ยมชมในขณะนี้

1
Online