คุณเตียงคนที่ไม่เคยลืมเจ็ดเสมียน

ณเตียง (มยุรี วิทยาลิขิต) ที่ ๒ จากซ้าย 

       าพ 5 วัยรุ่น คนที่ยืนตรงกลางนั้นไม่ใช่เด็กเจ็ดเสมียน แต่เป็นเพื่อนของเตียงเองค่ะ เป็นเพื่อนนักเรียน โรงเรียนพณิชยการพระนคร เตียงได้ชวนมาเที่ยวเจ็ดเสมียน อารีย์เป็น นร.รุ่นน้องด้วย จึงชวนกันมาถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก พร้อมกับ ปราณี และ กาญจนา ค่ะ

ตียง

 

 

 

 

ณเตียง (ซ้าย) เมื่อเป็นนักเรียนที่โรงเรียนวัดเจ็ดเสมียน ข้างหลังจะเห็นตัวอาคารของโรงเรียนวัดเจ็ดเสมียน มีโรงอาหารอยู่ข้างๆ 

     ที่ตรงนี้เมื่อตอนที่ยังไม่ได้ปลูกโรงอาหาร มันเป็นสวนครัวของพวกเด็กนักเรียน มีต้นพริก ข่า ตะไคร้ ต้นมะเขือ ผักบุ้งจีนเต็มไปหมด ผมเคยมาเล่นซ่อนแอบกับ คุณ โอฬาร ลักษิตานนท์  และเพื่อนเด็กเจ็ดเสมียนอีกหลายคน ถัดมาทางขวาอีก ก็เป็นอาคารชั้นเดียว ชื่อว่า เรือนหุ่นราษฎร์บำรุง   ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖  (เจ้าอาวาสในสมัยนั้น เป็นผู้สร้างไว้)

           ภาพหลวงปู่หุ่น เจ้าอาวาส วัดเจ็ดเสมียน ในสมัยเมื่อ 50 กว่าปีก่อน ออกบิณฑบาตร โดยมี (จากซ้าย) ี่องุ่น คุ้มประวัติ (พี่สาวของไอ้เหม่ง คะนอง คุ้มประวัติ)   ป้าละม่อม แม่ของพี่องุ่น คุ้มประวัติ แห่งร้านถ่ายรูป จำเนียรศิลป์ และ   คุณลัดดา ลูกนายซุ่ย ร้านทำทอง (เพื่อนคุณปราณี สุวรรณมัจฉา) ซึ่งได้เสียชีวิตไปนานหลายปีแล้ว และคนขวาสุดในรูปนั้นคือ   เจ๊แด๊ว   พี่สาวคุณลัดดาออกมาตักบาตรกัน  เนื่องในงานอะไรผมจำไม่ได้ ถ้าได้พบพี่องุ่นแล้วจะถามมาให้นะครับ

         ด้านหลังอาคารเรียน และ โรงอาหารนั้น มีต้นไม้ร่มครึ้ม มีต้นมะม่วงรวมอยู่ด้วยหลายต้น ต้นมะม่วงทองดำที่เกิดเหตุ ก็อยู่ที่ตรงนี้แหละ ส่วนด้านหลัง อาคารเรือนหุ่นนั้น มีถนนตัดเข้าไปโรงสีไฟเจ็ดเสมียน ของ   นายกิตติ วงษ์วานิช   พี่ชายพ่อของนายสาธร วงษ์วานิชนั่นเอง  

 

 
        จากภาพ คุณเง็ก บ้านริมน้ำ   ุณมยุรี วิทยาลิขิต (เตียง) ที่ 2 จากทางขวา ถัดมาคุณ นวลปรางค์ คุ้มประวัติ ไว้ผมทรง เกศริน (ชื่อของดาราหญิง ในสมัยนั้น ดังมากๆ จากภาพยนต์เรื่องวนาลี) พี่สาวของคะนอง  คุ้มประวัติ (เหม่ง) แล้วก็ อารีย์ สุวรรณมัจฉา น้องสาวของผม คุณสุกัญญา ลูกสาวนายชุ่ม นางมั่น ห้องติดกับห้องผม แล้วก็ คุณสำรวย โตพฤกษา คนดังของเจ็ดเสมียน ที่ออกรายการเจาะใจ และรายการโทรทัศน์อีกหลายรายการ ในเรื่องเลี้ยงหมา สโลแกนของเธอคือ ถ้าให้เลือกระหว่างสามีกับหมา ขอเลือกเลี้ยงหมาดีกว่า ส่วนซ้ายสุดนั้น คุณลัดดา น้องสาวเจ๊แด๊ว ลูกนายซุ่ย ร้านทอง นั่งตำส้มตำ ที่หลังบ้านคุณนวลปรางค์เอง  ด้วยความเรียบร้อย เด็กหญิงของเจ็ดเสมียนก็อย่างนี้แหละ ขึ้นชื่อว่าเรียบร้อยที่สุด กว่าทุกๆ ตำบล ใน อ.โพธาราม

 

ุณมยุรีในปัจจุบันนี้ 

        คุณมยุรี  (เตียง) นั้น เป็นเด็กเจ็ดเสมียนตัวจริง รุ่นน้องๆของผม ตอนอยู่เจ็ดเสมียนที่บ้านเขาก็ขายกาแฟ และขายของเบ็ดเตล็ด  อยู่ติดกับห้องอี๊น้อยถัดมา ทางทิศตะวันออก  มีน้องชายอีกคนชื่อว่า เจ้าอ๋วย   สองคนพี่น้องนี้มีนิสัยที่ดีมากจริงๆ แต่เป็นเด็กรุ่นหลังผมมาก รุ่นเดียวกับคุณอารีย์ และคุณปราณี น้องสาวผม

      เมื่อสมัยเป็นเด็กๆ นั้น พอถึงเกณฑ์กำหนดที่จะเข้าโรงเรียนได้ ก็ได้ไปเรียนที่โรงเรียนวัดเจ็ดเสมียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ใกล้บ้านที่สุด เด็กตลาดเจ็ดเสมียนส่วนใหญ่ จะเริ่มต้นกันที่โรงเรียนวัด บ้านเกิดแห่งนี้ คุณมยุรีนั้น เป็นเด็ก  รุ่นก่อนคุณอารีย์ สักปีหรือ 2 ปี เห็นจะได้ จะเห็นได้จากรูปถ่ายตอนต้นเรื่อง ไปไหนเขาก็จะไปด้วยกัน และในรุ่นๆเดียวที่ไล่เลี่ยกันนั้นยังมี คุณนิตยา (ไช้โป้วตราชฎา) อีกคนหนึ่ง ก็อยู่ในรุ่นนี้ด้วย เรื่องของคุณนิตยาและ นายตึ๊ง ลูกของอี๊น้อย ทั้งสองคนนี้ ต้องหาข้อมูลอีกมาก เพราะว่าผมจากพวกเขาไปนานเต็มที จึงไม่ได้รู้ความเป็นมาหรือเป็นไปในครอบครัว และกิจการของเขาเลย         

       คุณมยุรีนั้นเป็นเด็กที่เรียนหนังสือเก่ง เหมือนลูกคนจีนโดยทั่วไป  อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ คือ อาแปะเตี่ยเยี้ยน และ อาอึ้ม พวกผมซึ่งเป็นรุ่นพี่ หลายปี จึงมองกันว่า  คุณมยุรีนั้นเป็นเด็กดีจริงๆ แต่พวกผมก็ไม่ได้ยุ่งอะไรกับพวกเขาหรอกครับ เขาก็ไปของเขา ผมก็ไปยิงนก ตกปลา จับจิ้งหรีด กับพวกของผมไปตามเรื่อง

      เมื่อเรียนที่โรงเรียนวัดเจ็ดเสมียน จบชั้นประถมปีที่ 4 แล้ว คุณมยุรี  ก็ได้ไปเรียนต่อ ระดับมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียน ราษฎร์บำรุงวิทย์ พร้อมกับเพื่อนๆอีกหลายคน เด็กเจ็ดเสมียนส่วนใหญ่ เรียนที่โรงเรียนนี้ทั้งนั้น แม้แต่ผมเองก็เรียนที่โรงเรียน ราษฎร์บำรุงวิทย์ ในยุค ท่านประสาสน์ มะลิสุวรรณ เป็นอาจารย์ใหญ่

     เด็กตลาดเจ็ดเสมียนในรุ่นนี้ หรือรุ่นใกล้ๆกันนี้ เท่าที่จำได้มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่ได้เรียนที่โรงเรียน โพธาราม “โพธาวัฒนาเสนีย์” ซึ่งสมัยนั้นโรงเรียนนี้นับว่าเด่น ดังที่สุดของ อำเภอโพธาราม ที่จำได้มี   คุณบุปผา ลักษิตานนท์ คุณจินตนา  แววทอง แล้วก็ คุณอารีย์ สุวรรณมัจฉา
 
         ต่อมาเมื่อคุณมยุรี สอบขึ้น ม. 2 ได้แล้ว เหตุใดก็ไม่ทราบได้ ดูเหมือนว่าพี่ขายคนโตคือ คุณเคี้ยง พี่ชายของคุณมยุรี ได้นำเอาคุณมยุรี ขึ้นไปเรียน ม. 2 ที่กรุงเทพฯ แต่ผมก็ไม่ทราบหรอกนะครับว่า ชื่อโรงเรียนอะไร แล้วต่อมาด้วยเหตุผลกลใด ก็ไม่ทราบอีกเหมือนกัน คุณ มยุรีต้องกลับมาเรียน ม. 3 ต่อที่โรงเรียน ราษฎร์บำรุงวิทย์อีกครั้งหนึ่ง จนจบชั้นมัธยมปีที่ 6

าพนี้ถ่ายกันที่ชานชลาหน้าสถานีรถไฟ โพธาราม จากซ้าย อารีย์ สุวรรณมัจฉา,คนที่ยืนถัดมานั้น เสงี่ยม น้อยปลอด ไม่ใช่เด็กเจ็ดเสมียน แต่เป็นเด็กที่ตำบลบ้านใหม่,คนที่สาม มยุรี วิทยาลิขิต,สุดท้าย จินตนา  แววทอง ถ่ายเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๗ เมื่อ ๔๓  ปีมาแล้ว

(องคนตรงกลาง เรียนกันที่ โรงเรียนราษฎร์ บำรุงวิทย์ สองคนริมซ้ายขวาเรียนกันที่โรงเรียน โพธาราม โพธาวัฒนาเสนี ทุกคนเป็นเพื่อนกัน)

       ถัดจากนั้นอาแปะเตี่ยเยี้ยนละอาอึ้ม พ่อแม่ของคุณมยุรี คงจะเห็นว่าคุณมยุรี เป็นลูกผู้หญิง ไม่มีอะไรจะดีกว่าการเรียน ทางบัญชี จะเป็นการเหมาะสมกับลูกผู้หญิง มากกว่าอย่างอื่น  จึงได้ตัดสินใจเลือกทางเดินของลูก ให้มีอาชีพที่มีเกียรติในอนาคต จึงได้ให้ไปสอบเข้าที่ วิทยาลัยพาณิชยการพระนคร ใกล้สนามม้านางเลิ้ง (น้องสาวของผมคุณอารีย์ ก็สำเร็จจาก วิทยาลัยพาณิชยการพระนครเหมือนกัน แต่คนละรุ่น กับคุณ มยุรี แล้วไปเรียนบัญชีต่อที่ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์  ในภายหลัง)

      เมื่อสำเร็จการบัญชีที่ พาณิชยการพระนครแล้ว ทางเดินของอนาคตก็สดใส ได้ไปทำงาน แผนกบัญชี ที่ ศูนย์การค้า ไทยไดมารู ราชดำริ   ทำที่นี่อยู่หลายปี จนกระทั่ง ไทยใดมารู ได้เลิกล้มกิจการไป

     จากนั้นมา คุณมยุรี ก็ยังทำบัญชีอยู่ โดยรับทำบัญชีทั่วไป และเคยไปดูแลเรื่องบัญชี ให้กับ บริษัทของเพื่อนคนหนึ่ง ต่อมาในภายหลัง เมื่อเกิดภาวะ เศษฐกิจตกต่ำ เมื่อ ปี 40 นั้น บริษัทของเพื่อนคนนั้น ได้ล้มเลิกกิจการไป  คุณมยุรีก็ยังรับทำบัญชีทั่วไป และ ดูแลเรื่องบัญชีให้กับ พี่ชาย ที่ชื่อ ุณไท้เทียน(เคี้ยง)ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการ โรงงานทำกล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์ ต่าง ๆ และมีความสุขในอาชีพ ที่ได้ร่ำเรียนมา คุณมยุรี ยังไม่ได้มีครอบครัว ปัจจุบันนี้ พำนักอยู่ บ้านตรอกจันทร์ ยานนาวา มีความสุขกับหลานๆ และ เรื่องเกี่ยวกับ ธรรมมะ วิปัสสนาต่างๆ

       จากนี้ไปจะขอย้อนกล่าว เมื่อตอนเด็กๆ ที่อยู่ ห้องแถวที่ตลาดเจ็ดเสมียน กันหน่อยนะสองพี่น้องนี้ ตอนเด็กๆ ไปไหนก็มักจะไปด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่นครั้งหนึ่ง เมื่อมีหนังกลางแปลงมาฉายที่สนาม หน้าโรงเรียน พวกเด็กในรุ่นของเขา โดยมากก็จะมีแต่เด็กผู้หญิงรุ่นเขาทั้งนั้น ก็แห่กันไปดูหนังที่หน้าโรงเรียนเป็นกลุ่มใหญ่

      แล้วพอหนังกลางแปลงที่หน้าโรงเรียนนั้นเลิกแล้ว ทุกคนก็จะเดินกลับบ้านมาเป็นกลุ่มเมื่อมาถึงตลาด ก็แยกย้ายกันไปเข้าบ้าน บ้านใครบ้านมัน ไปเรียกไปทุบประตูให้แม่ออกมาเปิดประตูให้ ตอนนั้นก็ประมาณสักสามทุ่มครึ่ง ถึงสี่ทุ่มเห็นจะได้ บ้านทุกบ้านปิดประตูเข้านอนกันหมดแล้ว คุณมยุรีกับ เจ้าอ๋วย น้องชาย ก็เดินไปที่หน้าห้องแถวบ้านของตัว แล้วทุบประตูหน้าห้องพร้อมกับเรียกแม่ ให้เปิดประตูด้วย หลังจากเรียกตั้งนาน ก็ไม่มีใครมาเปิดประตูให้สักที

     จนชักเหนื่อย และหลังจากเรียกอยู่อีกเป็นนาน แม่เขาจึงมาเปิดประตูให้  จะให้แม่เขารีบออกมาเปิดประตูได้อย่างไร ก็สองคนพี่น้องนี้ เรียกแม่ว่า อาอึ้ม  ท่านผู้อ่านลองทำปาก แล้วลองเปล่งเสียงคำว่า อาอึ้ม ดูทีซิ เสียงจะออกมามากไหม แล้วอย่างนี้จะให้แม่รีบเปิดประตูรับเร็วๆ ได้อย่างไร แม่อาอ๋วยไม่ได้ยินเสียงเรียกนะซี้ !

        เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2514 ผมได้ไปเที่ยวที่ศูนย์การค้าไดมารู ที่ราชดำริ เพื่อจะไปพบคุณมยุรีที่นั่น เพราะได้ข่าวจากคุณอารีย์ว่าคุณมยุรีทำงานอยู่ที่ห้างไดมารูนี่หลายปีแล้ว วันนั้นผมได้พบคุณมยุรี และได้ซื้อวิทยุเทป ยี่ห้อโซนี่มา 1 เครื่อง ซึ่งคุณมยุรีก็เอาสิทธิในการเป็นพนักงาน ลดเปอร์เซ็นให้ผมจนหมดเลย  ผมก็ขอขอบคุณเอาไว้ตรงนี้อีกครั้งหนึ่ง นะครับ

                       ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องของคุณมยุรีเขานะครับ แต่เป็นลูกหลานคนเจ็ดเสมียนทั้งหมด  ใครเป็นใครดูกันเอาเองนะครับ   ถ้าดูไม่ออก ผมบอกชื่อไปทีละคนนะครับ  แถวนั่งบนจากซ้ายไปขวา        อโณทัย ไทยสวัสดิ์, อารีย์ สุวรรณมัจฉา, ปราณี สุวรรณมัจฉา, สาธร วงษ์วานิช, ระฆัง สุวรรณมัจฉา(คนยืน)

        แถวนั่งล่าง จากซ้ายไปขวา    แก้ว สุวรรณมัจฉา, ณรงค์ ชาญชาติณรงค์, เดชา ชาญชาติณรงค์, สุรชัย แววทอง, ศักดา วงศ์ยะรา น่งกันอยู่ที่หน้าโรงเรียนวัดเจ็ดเสมียน (สัจจานุกูล) ใกล้บันได ทางขึ้นชั้นบนของโรงเรียน

                                                                             โปรดติดตามตอนต่อไป ที่นี่ที่เดียว

 

บทความล่าสุด

จำนวนผู้เยี่ยมชม

วันนี้20
เมื่อวานนี้248
สัปดาห์นี้1721
เดือนนี้933
ทั้งหมด1344523

ผู้เยี่ยมชมในขณะนี้

1
Online